บางแสน ชลบุรี

S__15253672-728x408.jpg

บอร์ด EEC ไฟเขียวสิทธิประโยชน์ 7 เขต ส่งเสริมพิเศษย้ำไม่ล้ำเส้นบีโอไอ

ปักหมุด 7 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษใน EEC ได้สิทธิประโยชน์เจรจาตามรายนักลงทุน ยกเว้นภาษี 8-15 ปี ย้ำไม่ซ้ำซ้อนและไม่เกินสิทธิประโยชน์ของบีโอไอแน่นอน

วันที่ 9 มีนาคม 2565 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ เลขาฯ EEC) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2565 ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาสิทธิประโยชน์ในเขตส่งเสริมเศรษฐพิเศษ

  • อานิสงส์รัสเซีย-ยูเครน ราคาน้ำยางดิบนิวไฮรอบ 9 ปี
  • ดร.อนันต์เผยระดับภูมิคุ้มกัน ที่ติดเชื้อโอมิครอน และเดลต้า 
  • นักท่องเที่ยวรัสเซียแห่ออกจากไทย หนีพิษตะวันตกคว่ำบาตร

โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 ครม.มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ ซึ่งเป็นการกำหนดสิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมพิเศษ รวม 7 เขต

ได้แก่ เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันอออก (EECi) เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) เขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (EECh) ศูนย์นวัตกรรมการแพทยครบวงจรธรรมศาสตร์ (พัทยา) การแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน) และศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีชั้นสูงบ้านฉาง

“สำหรับสิทธิประโยชน์ที่เราจะให้เราชัดเจนว่าเป็นพื้นที่ไม่ซ้ำซ้อนกับที่บีโอไอให้ ซึ่งเราจะใช้กฎหมายของเราให้กับนักลงทุนแต่ละราย ที่เข้ามาลงทุนในเขตส่งเสริมฯของเราเท่านั้น ส่วนบีโอไอเขาจะให้ครอบคลุมทั้งพื้นที่ของ EEC โดยสิทธิประโยชน์เราจะให้นั้นจะไม่เกินที่กฎหมายบีโอไอให้”

ปัจจุบันกฎหมายของบีโอไอจะให้สิทธิประโยชน์ เช่น การยกเว้นภาษี 8 ปี รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่อยู่ใน พ.ร.บ. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ให้สูงสุดถึง 15 ปีสำหรับบางอุตสาหกรรมเท่านั้น

โดยเริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมเมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เป็นพื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) ให้สิทธิประโยชน์อีอีซี แก่นักลงทุน ก่อนขยายไปยังพื้นที่อื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่อีอีซี โดยร่างประกาศสิทธิประโยชน์ฯ มีหลักการที่สำคัญคือ การสร้างนวัตกรรมการให้บริการสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ เน้นการออกแบบสิทธิประโยชน์ตรงตามความต้องการของนักลงทุน

โดยการเจรจาให้สิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนแต่ละราย ซึ่งจะเป็นต้นแบบที่ใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความสำคัญต่อห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเป้าหมาย

อาทิ หุ่นยนต์ โลจิสติกส์ การแพทย์สมัยใหม่ ดิจิทัล และอุตสาหกรรมกลุ่ม BCG ที่ลงทุนใน 7 เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษฯ ทั้งนี้ สิทธิประโยชน์ อีอีซี เน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทำให้เกิดการลงทุนที่คล่องตัว เพื่อจูงใจนักลงทุนรายใหญ่เข้าสู่พื้นที่อีอีซี ซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ภายในอีก 5 ปีข้างหน้า ได้ตามเป้าหมาย

QR Code LINE@ Prachachat

ไม่พลาดข่าวสำคัญ เจาะลึกทุกประเด็น
เพิ่มเราเป็นเพื่อนทาง @prachachat

ติดตามข่าวธุรกิจ

เรื่องล่าสุด