ตามที่ สถาบันพระปกเกล้า โดยวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น จัดให้มีโครงการมอบรางวัลพระปกเกล้าทองคำและรางวัลพระปกเกล้าแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม และด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพื่อการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมัครเข้าร่วมโครงการ ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดีเด่น เพื่อรับรางวัลพระปกเกล้า ทองคำและรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2565 ได้พิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศเสร็จสิ้นแล้ว จึงเห็นควรประกาศผลการตัดสินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
รางวัลพระปกเกล้าทองคำ ประจำปี 2565
ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 3 แห่ง
1. เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
2. เทศบาลตำบลตำนาน อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
3. อบต.อ่าวนาง อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่
ด้านการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ จำนวน 2 แห่ง
1. เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์
2. เทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน 4 แห่ง
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
2. เทศบาลเมืองแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
3. เทศบาลเมืองกะทู้ อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต
4. เทศบาลตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
รางวัลพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศ ประจำปี 2565
ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 5 แห่ง
1. เทศบาลเมืองทุ่งสง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. เทศบาลเมืองเขาสามยอด อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
3. เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
4. เทศบาลตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน
5. เทศบาลตำบลป่าแมต อำเภอเมือง จังหวัดแพร่
ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน 10 แห่ง
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก
2. เทศบาลเมืองเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
3. เทศบาลตำบลแม่สะเรียง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
4. เทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
5. เทศบาลตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
6. เทศบาลเมืองสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
7. เทศบาลตำบลเวียงสา อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
8. เทศบาลเมืองแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
9. องค์การบริหารส่วนตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
10. องค์การบริหารส่วนตำบลสักงาม อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร
ด้านการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จำนวน 13 แห่ง
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
2. เทศบาลเมืองบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
3. เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
4. เทศบาลนครนนทบุรี อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
5. เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด
6. เทศบาลเมืองลำพูน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
7. เทศบาลตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
8. เทศบาลนครพิษณุโลก อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
9. เทศบาลตำบลป่าแดด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่
10. เทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
11. องค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
12. องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน จังหวัด อุบลราชธานี
13. องค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้าสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ประจำปี 2565
ด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน จำนวน 8 แห่ง
1. เทศบาลเมืองเลย อำเภอเลย จังหวัดเลย
2. เทศบาลตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
3. เทศบาลเมืองบางกะดี อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี
4. เทศบาลตำบลเวียงเทิง อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
5. องค์การบริหารส่วนตำบลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
6. องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
7. อบต.ลอมคอม ต.ลอมคอม อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
8. องค์การบริหารส่วนตำบลนาดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ด้านการเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม จำนวน 4 แห่ง
1. องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
2. เทศบาลตำบลกำแพงเพชร อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
3. องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
4. องค์การบริหารส่วนตำบลเสม็ดใต้ อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา
รางวัลพระปกเกล้า เป็นรางวัลที่มอบให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศและโดดเด่น ซึ่งเป็นรางวัลที่มีอายุยาวนานที่สุดในประเทศไทย โดยในปี 2565 เป็นการมอบรางวัลครั้งที่ 22
สถาบันพระปกเกล้าได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นให้เป็นรากฐานที่มั่นคงของการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้จัดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้า และใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้าขึ้นเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา โดยมีการมอบรางวัลพระปกเกล้า 4 ประเภท ดังนี้
1. ความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
2. การเสริมสร้างสันติสุขและสมานฉันท์
3. การเสริมสร้างเครือข่าย รัฐ เอกชน และประชาสังคม
4. การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ทั้งนี้ สถาบันพระปกเกล้ากำหนดให้มีการมอบรางวัลพระปกเกล้าทองคำ ทุก ๆ 2 ปี เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เคยได้รับรางวัลพระปกเกล้า มีการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง และสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการบริหารงานท้องถิ่นอยู่เสมอ
สถาบันพระปกเกล้า กำหนดให้มีพิธีมอบรางวัลพระปกเกล้าและใบประกาศเกียรติคุณสถาบันพระปกเกล้า ประจำปี 2565 (ในการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24 ประจำปี 2565) วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00-13.00 น. ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ