บางแสน ชลบุรี

“วราวุธ” ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน

“วราวุธ” ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืนและไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่อื่น พร้อมได้ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมมากที่สุดและได้มอบหมายนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ติดตามและกำกับการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด 

ด้าน จตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า สาเหตุการทรุดตัวของแผ่นดิน เนื่องจากกรุงเทพ เป็นพื้นดินอ่อนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ บางส่วนของกรุงเทพ จึงอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง รวมทั้งการสูบน้ำบาดาลในอดีต การก่อสร้างอาคารที่มีน้ำหนักมาก การถมคลองเปลี่ยนเป็นถนนทำให้พื้นที่รับน้ำที่เคยมีจำนวนมากในอดีตหายไป การกีดขวางและการอุดตันการระบายน้ำ เป็นต้น สถานการณ์โลกร้อนที่มีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพ มีผลกระทบต่อเนื่องมาจากการเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากปรากฏการณ์ลานีญา (La Nina) และ เอลนีโญ (EI Nino) ที่ทำให้มีฝนมากหรือน้อยกว่าปกติ 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกประเทศก็ให้ความสำคัญ ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) อยู่ระหว่างปรับปรุงแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หรือ UNFCCC : NAPs  ภายใต้กรอบการดำเนินงานด้านการปรับตัวแคคูน UNFCCC: Cancun Agreement เพื่อเป็นกลไกและวิธีการในการระบุความจำเป็น ต่อการปรับตัวในระยะกลางและระยะยาว นำไปสู่การบูรณาการการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเข้ากับนโยบาย แผนงาน และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและประกาศใช้ ต่อไป

“วราวุธ” ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน ชี้โลกร้อนมีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพ

 ด้าน อภิชัย เอกวนากุล รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รักษาราชการแทนอธิบดี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (รรท.อทช.) เปิดเผยว่า ในส่วนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) มีภารกิจที่เกี่ยวข้องในเขตบางขุนเทียน เป็นพื้นที่เพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานครที่ติดทะเล ซึ่งอยู่ในความดูแลของกรุงเทพมหานคร โดยสถานภาพชายฝั่งของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน มีระยะทางชายฝั่ง ประมาณ 7.11 กิโลเมตร มีสภาพพื้นที่เป็นหาดโคลนอยู่ในแนวทางการฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง (Coastal rehabilitation) เป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ได้มีการดำเนินการแก้ไขในพื้นที่ดังกล่าวแล้วทั้งหมด แต่ยังมีการกัดเซาะอยู่ประมาณ 2.60 กิโลเมตร และไม่มีการกัดเซาะเพิ่มระยะทาง 4.51 กิโลเมตร 

“วราวุธ” ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน ชี้โลกร้อนมีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพ

ปัจจุบันมีโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ของกรุงเทพฯ ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น การปักเสาคอนกรีต เขื่อนหินป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง และเขื่อนหินทิ้ง เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ภายหลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แนวชายฝั่งในเขตบางขุนเทียนเริ่มปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งที่เป็นผลมาจากปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ในระยะเวลา 3 ปีย้อนหลัง

“วราวุธ” ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน ชี้โลกร้อนมีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพ

“วราวุธ” ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน ชี้โลกร้อนมีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพ 

วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.)  ลงพื้นที่ แก้ปัญหา การกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่บางขุนเทียน ชี้โลกร้อนมีผลต่อการจมน้ำของกรุงเทพ

เรื่องล่าสุด