บางแสน ชลบุรี

ราคาประเมินใหม่ 3 จังหวัดอีอีซีพุ่ง 42.83% ถนนเลียบหาดพัทยาแพงสุด

ราคาประเมินใหม่ 3 จังหวัดอีอีซีพุ่ง 42.83% ถนนเลียบหาดพัทยาแพงสุด

ราคาประเมินใหม่ 3 จังหวัดอีอีซีพุ่ง 42.83% ถนนเลียบหาดพัทยาแพงสุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันที่ 1 มกราคม 2566 กรมธนารักษ์เตรียมประกาศราคาประเมินที่ดินใหม่รอบปี 2566-2569 เมื่อโฟกัสในพื้นที่ ต่างจังหวัด โดยภาพรวมเพิ่มขึ้น 8.81%

เจาะทำเลทอง 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ถูกกำหนดเป็นพื้นที่พัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลทุ่มเม็ดเงินลงทุนโครงการระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งไปจำนวนมาก ครบถ้วนทั้งบก ราง น้ำ อากาศ เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย เป็นศูนย์กลางของภูมิภาค

โดย จ.ชลบุรี ราคาปรับขึ้นมากสุด 42.83% สูงสุดอยู่ถนนเลียบหาดพัทยา อ.บางละมุง 220,000 บาท/ตารางวา (ตร.ว.) ราคาต่ำสุดเป็นที่ดินไม่มีทางเข้า-ออก อ.พนัสนิคม ราคาอยู่ที่ 250 บาท/ตร.ว.

ขณะที่ใน 10 ถนนสายสำคัญที่ราคาสูงสุด ได้แก่ ถนนเลียบหาดพัทยา 200,000-220,000 บาท/ตร.ว. ถนนพัทยาใต้ 90,000-150,000 บาท/ตร.ว. ถนนเลียบหาดจอมเทียน 65,000-100,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) 10,000-100,000 บาท/ตรว.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (ถนนชลบุรี-บ้านบึง) 1,500-60,000 บาท/ตร.ว. ถนนลงหาดบางแสน (ผ่าน ม. บูรพา) 45,000 บาท/ตร.ว. ถนนบางแสนสาย 1 (เลียบหาดบางแสน) 30,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 36 (ถนนบางละมุง-ระยอง) 4,000-12,000 บาท/ตร.ว. โครงข่ายทางด่วนสาย 7 อยู่ที่ 3,000-12,000 บาท/ตร.ว.และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 (ถนนสายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ) 2,000-8,000 บาท/ตร.ว.

รองลงมา จ.ระยอง ปรับขึ้น 7.49% สูงสุดอยู่ที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (สุขุมวิท) อ.เมืองระยอง 100,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดเป็นที่ดินไม่มีทางเข้า-ออกที่ อ.เขาชะเมา ราคา 100 บาท/ตร.ว.

สำหรับ 10 ถนนสายสำคัญราคาสูงสุด ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (สุขุมวิท) 3,000-100,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3574 (ระยอง-บ้านค่าย) 2,500 – 60,000 บาท/ตร.ว. ถนนตากสินมหาราช 50,000-60,000 บาท/ตร.ว.

ทางหลวงแผนดินหมายเลข 36 (บางนา-ตราด) 5,000-40,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3145 (เพ-แกลง-กร่ำ) 6,300-18,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3376 (บ้านฉาง-ชากหมาก-ยายร้า) 800-13,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 344 (บ้านบึง-แกลง) 1,800-8,500 บาท/ตร.ว. ถนนสายปลวกแดง-ห้วยปราบสะพานสี่ 5,000-8,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3191 (ปลวกแดง – ระยอง) 1,000-7,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3377 (เขาดิน-แยกพัฒนา) 500-4,000 บาท/ตร.ว.

ปิดท้ายที่ จ.ฉะเชิงเทรา ปรับขึ้น 1.53% สูงสุดอยู่ถนนมหาจักรพรรดิ์ อ.เมืองฉะเชิงเทรา 50,000 บาท/ตร.ว. ต่ำสุดเป็นที่ดินไม่มีทางเข้า-ออก อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ 100 บาท/ตร.ว.

ส่วน 10 ถนนสายสำคัญที่ราคาสูงสุด ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 304 3,500-50,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 314 (ถนนฉะเชิงเทรา-บางปะกง) 10,500-35,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (ถนนเทพรัตน) 22,500 บาท/ตร.ว.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3121 (ถนนบางคล้า-แปลงยาว) 4,500-17,500 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3378 (ถนนบางคล้า-พนมสารคาม) 3,000-8,000 บาท/ตร.ว.ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3124 (ถนนบางน้ำเปรี้ยว-บางขนาก) 1,550-9,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 315 (ถนนฉะเชิงเทรา-พนัสนิคม) 5,000-10,000 บาท/ตร.ว.

ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3076 อยู่ที่ 700-15,000 บาท/ตร.ว. ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 (ถนนฉะเชิงเทรา-สัตหีบ) 3,500-4,000 บาท/ตร.ว. และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3551 (ถนนสัตหีบ-พนมสารคาม) 4,000 บาท/ตร.ว.

เรื่องล่าสุด